เมื่อสองวันที่แล้ว มีข่าวออกมาว่า ธนาคารธนชาติกับธนาคารTMBบรรลุข้อตกลงในการควบรวมกิจการแล้ว บรรดานักลงทุนต่างก็ตื่นเต้นกันใหญ่ ผมน่าเรื่องนี้น่าพิจารณาดีๆ จริงอยู่ว่า การควบรวมครั้งนี้จะทำให้ธนาคารทั้งสองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของธนชาติเป็นสินเชื่อลีสซิ่ง ขณะที่ลูกค้าสินเชื่อของTMBเป็น SMEและธุรกิจขนาดใหญ่ ความเชี่ยวชาญของธนาคารทั้งสองน่าจะเสริมจุดอ่อนจุดแข็งของทั้งสองบริษัทได้อย่างดี แต่ประเด็นหนึ่งที่ยังไม่มีใครพูดถึง คือประเด็นการแข่งขันครับ การควบรวมครั้งนี้อาจจะทำให้การแข่งขันในตลาดธนาคารลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อการแข่งขันน้อย ธนาคารก็ไม่ต้องแข่งกันแย่งลูกค้ามากเท่าที่ควร ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ไม่ต่ำเท่าที่ควร ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากก็ไม่สูงเท่าที่ควร บริการและการดูแลลูกค้าก็ไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าการแข่งขันต่ำครับ (ขออนุญาตไม่พูดถึง HHI index เพราะจะลึกไปสำหรับบทความนี้)
ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในเมืองไทย มีเพียง 14 เจ้า หรือมีจำนวนเพียงแค่ 0.20 ธนาคาร ต่อประชากรหนึ่งล้านคน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ตั้งแต่ปี 2540 ประเทศไทยไม่เคยออกใบอนุญาตให้เจ้าใหม่เข้าสู่ตลาดเลยแม้แต่รายเดียว ที่เห็นแบรนใหม่ๆส่วนใหญ่เป็นการอัพเกรดใบอนุญาตเก่า หรือมีการซื้อกิจการแล้วเอามารีแบรนด์ใหม่แค่นั้นเองครับ ผมไม่มีข้อมูลแน่ชัดนะครับว่า เราเป็นประเทศที่มีจำนวนธนาคารต่อประชากรที่เกือบจะต่ำที่สุดในโลกหรือไม่ แต่ที่ผมหาข้อมูลจากประเทศที่รวยที่สุด 30 ประเทศแรก เราอยู่อันดับรองบ๊วย รองจากอินเดียครับ หรือถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนก็ติดอันดับบ๊วยเช่นกันครับ ซึ่งมันจะแย่ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากการควบรวมครั้งนี้ สำเร็จจะเหลือเพียง 13 เจ้า หรือ มีจำนวนเพียงแค่ 0.18 ธนาคาร ต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน เราไปดูในประเทศอื่นๆโลกนี้กันบ้างว่าเป็นยังไงบ้าง 1. ประเทศทุนนิยมจ๋าอย่างสหรัฐอเมริกา มีจำนวนธนาคาร 4,805 ธนาคาร หรือ มีจำนวน 14.69 ธนาคาร ต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน หรือมากกว่าไทย 73 เท่า 2. ประเทศรัฐสวัสดิการจ๋าอย่างนอเวย์ มีจำนวนธนาคารมากถึง 168 ธนาคาร หรือ มีจำนวน 31.70 ธนาคาร ต่อ ประชาชนหนึ่งล้านคน หรือ มากกว่าไทย 158 เท่า 3. ประเทศร่ำรวยในอาเซียนอย่างสิงคโปร์แต่ประชากรน้อยนิด ยังมีจำนวนธนาคารถึง 158 ธนาคาร หรือ 27.24 ธนาคาร ต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน หรือมากกว่า ประเทศไทย 136.2 เท่า 4. ประเทศคอมมิวนิสต์อย่างจีนที่เริ่มจะรวยแต่มีประชากรมหาศาล ยังมีจำนวนธนาคารถึง 4,398 ธนาคาร หรือ มีจำนวน 3.11 ธนาคาร ต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน มากกว่า ประเทศไทย 15 เท่า 5. มาเลเซียบ้านใกล้เรือนเคียง มีจำนวนธนาคารมากกว่าไทย 3 เท่าคือ 45 ธนาคาร หรือ มี 1.41 ธนาคารต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน มากกว่าประเทศไทย 7 เท่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การจะควบรวมกิจการที่มีส่วนแบ่งในตลาดของข้างสูงนั้นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ (ในกรณีนี้ ธนชาตกับTMB รวมกันมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 10%) ถ้าอย่างในอเมริกาก็ขอกับ Federal trade Commission หรือ FTC ในอังกฤษก็ต้องขอกับ Competition and Markets Authority (CMA) แต่ประเทศไทยสิครับ น่าสงสัยว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำอะไรอยู่ จริงๆแล้ว ส่วนตัวผมเองเนี่ยเป็นคนที่อยู่ค่ายสนับสนุนการควบรวมกิจการอยู่แล้ว เพราะผมเชื่อว่า โดยมากแล้ว การควบรวมกิจการจะทำให้ประสิทธิภาพของบริษัทนั้นสูงขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎี ถ้ามีการควบกิจการแล้วมีการเพิ่มราคาสินค้า รายใหม่ที่ทำได้ถูกกว่าจะพยายามเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันราคาทันที อ้าว แล้ว ถ้าแบงค์13 แบงค์ แข่งกันน้อยลง หรือ ขึ้นราคา ใครจะเข้ามาแข่งล่ะครับ ถ้าตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครเคยขอใบอนุญาตธนาคารใหม่ได้แม้แต่ใบเดียว! ย้ำอีกครั้ง ผมไม่ได้ต่อต้านการควบรวมกิจการนะครับ แต่ถ้าควบได้ รวมได้ แต่เปิดใหม่ไม่ได้ ผมว่า มันไม่ใช่ละ #ปลดล็อค #นโยบายเปิดใบอนุญาตธนาคารท้องถิ่น #คือทางออก #พรรคอนาคตใหม่ #คริสโปตระนันทน์ #ผู้สมัครสสกทมเขต6 #ราชเทวี #พญาไท #จตุจักร
5 Comments
10/6/2022 04:10:22 pm
Learn truth southern win table table total herself. Product term land need picture peace. Thank serious large theory.
Reply
10/13/2022 02:25:56 am
Standard key economic run. Stay culture deep show. Interview push bar fire. Evidence benefit probably all.
Reply
11/17/2022 11:31:39 am
Hospital young guy Mrs executive say. World state these story medical economy affect. Take travel write determine despite modern.
Reply
Leave a Reply. |
ทนายคริส โปตระนันทน์ทนายคริสเริ่มเขียนบทความตั้งแต่อยู่ ปี 3 โดยเรื่มเขียนบทความแรกในเวปไซต์ประชาไท งานเขียนของคริสหมวดต่างๆ |